เทอร์โมคัปเปิล
ตอนจบ : สว่าง
ประกายรุ้งทอง
|
|
หน้าแรก |
ไพโรมิเตอร์ทำเอง วงจรสมบูรณ์ของไพโรมิเตอร์ ซึ่งเป็นวงจรที่ง่าย ๆ วงจรนี้ใช้ออปแอมป์เบอร์ 741 จำนวน 2 ตัว ซึ่งมีราคาถูก และ ใช้แรงดันขนาด 9 โวลต์จากแบตเตอรี่ และ ยังสามารถ ทำงานจากแหล่งจ่ายไฟตรงขนาด 9 โวลต์. ถ้าหากต้องการใช้วัดเป็นระยะเวลานานๆ. ลักษณะของวงจรขยายแรงดันพื้นฐาน แสดงให้เห็นรูปที่ 1 ตัวต้านทาน R1 จะใช้สำหรับสร้างแรงดัน E1 เพื่อตอบ สนองต่อกระแสของมิเตอร์ I0 และ เนื่องจากอินพุตขั้วลบของออปแอมป์จะต่ออยู่กับด้านบนของ Rf ดังนั้น Ef จะกลายเป็นแรง ดันป้อนกลับทางลบ เนื่องจากออปแอมป์นั้นมีค่าอัตราขยายเมื่อไม่มีการป้อนกลับ ( open - loopgain ) เท่ากับ A จึงทำให้แน่ใจว่า Ef จะแปรตามแรงดันของเทอร์โมคัปเปิล Ei อย่างใกล้ชิด. ซึ่งเป็นผลให้ กระแสของมิเตอร์ I0 จะแปรผันโดยตรงกับ Ei และ แปรผกผันกับ Rf ดังนั้นวงจรนี้จึงเป็นวงจรแปลงแรงดันให้เป็นกระแสแบบเชิงเส้น ( liner voltage - to - converter ) ซึ่งอัตราส่วน จะถูกกำหนดโดยค่าของ Rf โดยการเปลี่ยนค่าของตัวต้านทานนี้ เราสามารถให้มิเตอร์มีค่าความไวใด ๆ ในรูปของอินพุต Ei เป็นมิลลิโวลต์ ยกตัวอย่าง เช่น ถ้าหากมิเตอร์เป็นแบบ 0 - 1 mA โดยการใช้ R f ค่า 50 โอห์ม จะเปลี่ยนมิเตอร์เป็นขนาด 0 - 50 mV เช่นเดียวกัน ถ้าใช้ Rf ค่า 20 โอห์ม ก็จะเปลี่ยนมิเตอร์นี้เป็นขนาด 0 - 20 mV. การทำเช่นนี้หมายความว่า มิเตอร์ที่กำหนดสเกลเป็น 0 - 1 mA จะให้ค่าเต็มสเกลหักเหไป เมื่อมีกระแสผ่านอย่างแน่นอน 1 มิลลิแอมป์ โดยทั่วไปแล้วจะไม่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากมิเตอร์จะมีค่าความคลาดเคลื่อนระหว่าง 3% และ 5% สำหรับความต้อง การในขณะนี้ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก. เนื่องจากความผิดพลาด 5% ในการวัดเอาท์พุตของเทอร์โมคัปเปิล ชนิด K ที่ประมาณ 800 องศาเซลเซียส จะเทียบเท่ากับการผิดพลาดของอุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่ง เราไม่สามารถที่จะใช้ตัวต้านทานค่า 1% สำหรับ Rf และ สมมุติว่าทุกสิ่งใช้ได้. เนื่งจากค่าความ ผิดพลาดจากความคลาดเคลื่อน ในค่าความไวของกระแสมิเตอร์ ทำให้จำเป็นที่จะต้องมีการปรับแต่ง ( calibration ) ก่อน. เนื่องจากแรงดันเอาท์พุตจากเทอร์โมคัปเปิล ไม่เป็นฟังก์ชั่นเชิงเส้น กับค่าอุณหภูมิ. เราไม่สามารถจะปรับแต่งมิเตอร์ใน รูปของดีซีมิลลิโวลต์ แล้วจึงใช้ วิธีการ และ ตารางจากตอนที่แล้ว ( ตารางที่ 2 ) ในการหาค่าอุณหภูมิที่ตรงกัน. |
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved. |