ฟาสต์-รีคัฟเวอรี่ไดโอด
: ชูเกียรติ วัฒนากูล
|
|
หน้าแรก |
แนะนำฟาสต์-รีคัฟเวอรี่ไดโอด แหล่งจ่ายแรงดันไฟตรงแบบสวิตชิ่ง (switching power supply) นับวันยิ่งจะมีบทบาทมากขึ้น เพราะถูกออกแบบให้มีน้ำหนักเบา ประสิทธิภาพสูงและราคาถูก องค์ประกอบสำคัญสำหรับ แหล่งจ่ายแรงดันไฟตรงแบบสวิตชิ่งก็คือ ประสิทธิภาพ ปัจจัยที่จะทำให้มีประสิทธิภาพสูงได้แก่ อุปกรณ์ที่ใช้ในวงจร จึงมีการพัฒนาอุปกรณ์แบบใหม่ ๆ เช่น ทรานซิสเตอร์สวิตชิ่งแรงดันสูงไอซีควบคุมการทำงาน หม้อแปลงแกนเฟอร์ไรต์รวมไปถึงตัวเก็บประจุแรงดันสูงแบบอิเล็กทรอไลต์ และสิ่งที่จะขาดไม่ได้ก็คือ ไดโอดเรียงกระแสที่เอาต์พุต จากที่กล่าวมานี้ ไดโอดก็เป็นอุปกรณ์ตัวหนึ่งที่จำกัดประสิทธิภาพของแหล่งจ่ายแรง ดันไฟตรงแบบสวิตชิ่งข้อแรกก็คือ ความเร็ว ไดโอดที่จะใช้กับงานประเภทนี้ต้องมีความเร็วสูง เพราะแหล่งจ่ายไฟประเภทนี้ทำงานที่ความถี่ในช่วง 25-50 กิโลเฮิรตซ์ ข้อที่สองก็คือ แรงดันตกคร่อมไดโอดขณะนำกระแส หรือแรงดันตกคร่อมขณะไดโอดได้รับไบแอสตรงจะต้องต่ำ เพราะกระแสไฟที่ไหลผ่านไดโอด ขณะนำกระแสมีค่าสูงมาก ถ้าแรงดันตกคร่อมไดฆโอด มีค่าสูงจะทำให้มีการสูญเสียสูงตามไปด้วย ดังนั้นเพื่อประสิทธิภาพที่ดีของแหล่งจ่ายไฟ การศึกษาในเรื่องของไดโอดจึงเป็นสิ่งสำคัญ บทความนี้จะขอแนะนำไดโอดสำหรับใช้ในแหล่งจ่ายไฟแบบนี้โดยเฉพาะเนื่องจากมีแรงดันตกคร่อม ขณะนำกระแสต่ำกว่า 1 โวลต์ (ที่กระแสสูงสุด) และความเร็วหรือปกติจะระบุเป็นเวลากลับสู่สภาพเดิม (recovery times) ซึ่งมีค่า 30-50 นาโนวินาที เท่านั้น ไดโอดที่จะพูดถึงมีรหัสเป็น BYW29, BYW30, BYW31, และ BYW92, ไดโอดทั้งหมดนี้เป็นฟาสต์รีคัฟเวอรี่ไดโอดแบบเอปปิตาเชียล (fastrecovery epitaxial diodes) ใช้ในแหล่งจ่ายไฟที่ให้แรงดันเอาต์พุตสูงไม่เกิน 35 โวลต์ |
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved. |