กลับหน้าบทความอิเล็กทรอนิกส์ | SE-ED.com | Electronics Society | ThailandIndustry.com | Webboards |
ฟาสต์-รีคัฟเวอรี่ไดโอด : ชูเกียรติ วัฒนากูล

ที่มา : วารสาร SEMICONDUCTER ฉบับที่ 102 เดือน ตุลาคม - พฤศจิกายน พ.ศ. 2533

หน้าแรก
แนะนำฟาสต์-รีคัฟเวอรี่ไดโอด
เอปปิตาเชียลเทคโนโลยี
ไดโอดกับแหล่งจ่ายแรงดัน แบบสวิตชิ่ง
แรงดันทางตรง
การลดกระแสรีเวิร์ส-รีคัฟเวอรี่
แรงดันกลับทาง
การเลือกไดโอดใช้งาน
บทส่งท้าย


การเลือกไดโอดใช้งาน

คอนเวอร์เตอร์แบบทางตรงให้แรงดันเอาต์พุต 28 โวลต์ กระแส 15 แอมป์ ใช้แรงดันอินพุตจากไฟสลับ 230 โวลต์ ก่อนอื่นต้องคำนวณแรงดันอินพุตซึ่งเป็นไฟสลับ โดยปกติจะมีขนาดแรงดันเป็น 240 โวลต์ +10 ถึง -20 เปอร์เซ็นต์และ 220 โวลต์ ฑ 15 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะให้ค่าแรงดันที่วัดได้สูงสุด คือ 264 โวลต์และต่ำสุดคือ 187 โวลต์ (วัดจากค่า อาร์ เอ็ม เอส) เมื่อผ่านวงจรไดโอดเรียงกระแสแบบบริดจ์จะได้แรงดันสูงสุด 373 โวลต์ และ 264 โวลต์ ตามลำดับ

ขณะที่ทรานซิสเตอร์ดึงกระแสเต็มที่ ตัวต้านทานที่จำกัดกระแสจะมีแรงดันตกคร่อมประมาณ 5 โวลต์ และขณะไม่ทำงานจะมีแรงดันประมาณ 1 โวลต์ ดังนั้นแรงดันอินพุตสูงสุดจะอยู่ในช่วง 259-372 โวลต์ การคำนวณหาการกระเพื่อมของแรงดัน (Ripple Voltage) จะขึ้นอยู่กับค่าเก็บประจุกับกำลังงานที่ใช้

โดย V1 คือค่าแรงดันสูงสุดของแรงดันที่ผ่านไดโอดเรียงกระแสแล้ว มีหน่วยเป็นโวลต์

V2 คือแรงดันสูงสุดขณะเกิดการกระเพื่อม มีหน่วยเป็นโวลต์

P คือกำลังงานที่ใช้ มีหน่วยเป็นวัตต์

T คือเวลาของไดโอดขณะไม่นำกระแส มีหน่วยเป็นวินาที

C คือตัวเก็บประจุเพื่อรักษาระดับแรงดัน มีหน่วยเป็นฟารัด

กรณีไฟสลับ 50 เฮิรตซ์ ผ่านไดโอดเรียงกระแสแบบเต็มคลื่น t จะประมาณ 8.5 มิลลิวินาที ถ้าครึ่งคลื่นก็จะหายไป 18 มิลลิวินาที สมมติว่าประสิทธิภาพของแหล่งจ่ายเป็น 80 เปอร์เซ็นต์ ค่าเก็บประจุคือ 2 ไมโครฟารัด ต่อกำลังงาน 1 วัตต์ แรงดันกระเพื่อมจะเป็น

แรงดันอินพุตจะเปลี่ยนแปลงอยู่ในช่วง 211 - 372 โวลต์

สำหรับในทางปฏิบัติค่าดิวตี้ไซเกิลสูงสุด ขณะแรงดันอินพุตต่ำสุดจะได้ประมาณ 0.45 ค่าแรงดันตกคร่อมไดโอดขณะไบแอสตรงมีค่า 1 โวลต์ จากสมการที่ 7 จะได้ค่าแรงดันย้อนกลับสูงสุดเท่ากับ

Vrmax = [(28 x 1)/ 0.45 x 372/ 211] -1

= 113 โวลต์

ค่าดิวตี้ไซเกิ้ลต่ำสุดขณะอยู่ในสภาวะปกติ อาจจะคำนวณได้จากค่าดิวตี้ไซเกิลสูงสุด และค่าแรงดันอินพุต ดังนี้

ค่ากระแสเฉลี่ยสูงสุดของไดโอดเรียงกระแสที่เอาต์พุตแต่ละตัวสามารถคำนวณได้จาก ไดโอด D3 ซึ่งมีค่าดิวตี้ไซเกิล 0.74 กระแสเอาต์พุตสูงสุด 15 แอมป์ สำหรับกระแสเฉลี่ยจะเป็น 11.1 แอมป์ ดังนั้นกระแสเฉลี่ยสูงสุดของ D2 เกิดเมื่อแรงดันอินพุตต่ำสุดมีดิวตี้ไซเกิล 0.45 กระแสเฉลี่ยจะเป็น 6.8 แอมป์ จากข้อมูลทั้งสองคือ แรงดันย้อนกลับ Vr เป็น 113 โวลต์ กระแสเฉลี่ย 11.1 แอมป์ ไดโอดที่เหมาะจะใช้งานคือ BYW30-150

เมื่อเลือกหาไดโอดได้แล้วเราจะพิจารณาถึงแผ่นระบายความร้อนหรือฮีตซิงค์และกำลังสูญเสียทั้งหมด ของไดโอดแต่ละตัว รูปที่ 17 เป็นกราฟคุณสมบัติด้านกำลังสูญเสีย ของไดโอดขณะทำงานกับรูปคลื่นสี่เหลี่ยม ถ้าให้ไดโอดแต่ละตัวมีแผ่นระบายความร้อนแยกกัน ก็สามารถคำนวณหาขนาดของแผ่นระบายความร้อนได้โดยตรงจากกราฟ เช่นไดโอด D3 มีกระแสเฉลี่ย 11.1 แอมป์และค่าดิวตี้ไซเกิล 0.74 จากกราฟจะได้ค่ากำลังสูญเสีย 11 วัตต์ (กราฟด้านซ้าย) และสมมติว่ายอมให้อุณหภูมิทั่วไป ( ambient) มีค่า 60 องศาเซลเซียสจะต้องการแผ่นระบายความร้อน ที่มีค่าความต้านทานความร้อนเป็น 6 องศาเซลเซียสต่อหนึ่งวัตต์ (กราฟด้านขวา)

สำหรับไดโอด D2 กระแสเฉลี่ยเป็น 6.8 แอมป์ ดิวตี้ไซเกิล 0.45 กำลังสูญเสีย 6 วัตต์ จึงใช้แผ่นระบายความร้อน ที่มีค่าความต้านทานความร้อน 10 องศาเซลเซียสต่อหนึ่งวัตต์

รูปที่ 17 กราฟแสดงคุณสมบัติด้านกำลังสูญเสียของไดโอดเมื่อทำงานกับคลื่นสี่เหลี่ยม

ถ้าไดโอดทั้งสองวางอยู่บนแผ่นระบายความร้อนแผ่นเดียวกัน กำลังสูญเสียทั้งหมด คำนวณจากกราฟที่เป็นกระแสตรง มีกระแสเฉลี่ย 15 แอมป์จะได้ค่ากำลังสูญเสีย 14.2 วัตต์ ดังนั้นจะต้องใช้แผ่นระบายความร้อน ที่มีความต้านทานความร้อนประมาณ 4 องศาเซลเซียสต่อหนึ่งวัตต์ ค่าที่ได้มีค่าสูงกว่าปกติ เนื่องจากเราคิดว่ากำลังสูญเสียเกิดจาก ไดโอดเพียงตัวเดียว แต่ในทางปฏิบัติค่าประมาณที่ได้ก็เพียงพอ

แต่ถ้าต้องการให้แหล่งจ่ายแรงดันจ่ายกระแสเต็มที่คือ 15 แอมป์แล้ว ค่าดิวตี้ไซเกิลของไดโอด D3 จะต้องเป็น 1 ต้องเปลี่ยนไปใช้ไดโอดเบอร์ BYW31-150 เพราะค่ากระแสเฉลี่ยสูงกว่า 15 แอมป์


สงวนลิขสิทธิ์
พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved.