การลดกระแสรีเวิร์ส-รีคัฟเวอรี่
 กระแสกระชากในฟลายวีลไดโอดขณะกลับสู่สภาวะรีเวิร์ส-รีคัฟเวอรี่สามารถลดได้
โดยต่อตัวเหนี่ยวนำอนุกรมกับฟลายวีลไดโอด (คือ L1 ) ดังรูปที่ 15 ตัวเหนี่ยวนำจะจำกัดอัตราการตกของกระแสด
ซึ่งเป็นการลดประจุสะสมในตัวไดโอด ก่อนกระแสจะไหลย้อนกลับดังนั้นจึงจำเป็นต้องจำกัดกระแส
Ir ให้มีค่าลดลง

รูปที่ 15 แสดงการต่อตัวเหนี่ยวนำ
L1 เพื่อลดการกระชากของกระแสในไดโอด D3 ขณะเข้าสู่สภาวะรีเวิร์ส-รีคัฟเวอรี่
ในช่วงเวลาตกของกระแสในขดทุติยภูมิ
กระแสในขดปฐมภูมยังคงไหลอยู่ พลังงานไหลเวียนกลับ ไปยังอินพุตผ่านขดลวด ที่ทำให้หมดสภาพเป็นสนามแม่เหล็ก
สิ่งนี้ได้ลดความสามารถของการให้กำลังทางเอาต์พุตของแหล่งจ่าย อย่างไรก็ตาม
โดยการใช้ตัวเหนี่ยวนำอิ่มตัวไม่เป็นเชิงเส้น L1 จะลดเวลาการตกของกระแสไปได้มาก
และอัตราการตกของกระแสจะถูกทำให้เข้าใกล้เป็นศูนย์ ในทางเดียวกันกระแสด Ir
ถูกลดลงให้เกือบเป็นศูนย์ และพลังงานที่ไหลเวียนกลับไปยังอินพุตก็จะลดลงไปด้วย
แต่ความจำเป็นในการใช้ฟาสต์-รีคัฟเวอรี่ไดโอดก็ยังมีอยู่ เพื่อลดขนาดของตัวเหนี่ยวนำและยังลดพลังงานที่ไหลเวียนกลับอีกด้วย

รูปที่ 16 แสดงรูปคลื่นกระแสในไดโอด
D3 ในช่วงหยุดนำกระแสแสดงให้เห็นการลดการกระชากของกระแส
รูปที่
16 แสดงรูปคลื่นกระแสของไดโอด D3 ขณะหยุดนำกระแส
|