กลับหน้าบทความอิเล็กทรอนิกส์ | SE-ED.com | Electronics Society | ThailandIndustry.com | Webboards |
เก็บตกสเปกอุปกรณ์ สารกึ่งตัวนำ : พจนารถ สุพรรณกูล

ที่มา : วารสาร SEMICONDUCTER ฉบับที่ 112 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2534

หน้าแรก
เริ่มด้วยไดโอด
รหัสของไดโอด
ซีเนอร์ไดโอด
ไทริสเตอร์
ไตรแอก
ไดโอดเปล่งแสง






เรื่มด้วยไดโอด

รูปที่ 1 ทิศทางของแรงดันและกระแสของไดโอด

ไดโอดทั่วไปจะประกอบขึ้นจากรอยต่อของสารกึ่งตัวนำชนิด P และ N แบบเดี่ยวของวัสดุซิลิคอน (Si) หรือ เจอร์เมเนียม (Ge) การนำไฟฟ้าของไดโอดจะต้องให้วัสดุชนิด P เป็นบวกเมื่อเทียบกับวัสดุชนิด N (โดยที่วัสดุชนิด P จะต่อเป็นชั้วแอโนด ส่วนวัสดุชนิด N จะเป็นขั้วแคโทด) และเมื่อไดโอดนำไฟฟ้าทิศทาง ของกระแสจะไหลจากขั้วแอโนด ไปยังขั้วแคโทดดังแสดงใน รูปที่ 1 ส่วนรูปล่างนั้นเป็นการป้อนแรงดันย้อนกลับ จะมีกระแสไหลย้อนกลับน้อยมาก ไดโอดชนิดซิลิคอนจะมีกระแสย้อนกลับต่ำกว่าแบบเจอร์เมเนียม

เมื่อไดโอดนำไฟฟ้าแรงดันตกคร่อมไดโอดจะมีค่าน้อยมาก (ในทางอุดมคติถือว่าเป็นศูนย์) จากตารางข้างล่างได้ทดลองวัดแรงดันตกคร่อมของไดโอดบางเบอร์ทั้งซิลิคอน และเจอร์เมเนียมที่กระแสค่าต่าง ๆ

รูปที่ 2 กราฟคุณลักษณะของไดโอดซิลิคอนและเจอร์เมเนียม

ไดโอดชนิดเจอร์เมเนียมจะนำไฟฟ้าที่แรงดันต่ำกว่าไดโอดชนิดซิลิคอน แต่จะมีกระแสย้อนกลับรั่วไหลมากกว่า และจากกราฟ รูปที่ 2 เห็นได้ว่าค่าความต้านทานของไดโอด ชนิดซิลิคอนด้านฟอร์เวิร์ดจะมีค่าต่ำกว่าแบบเจอร์เมเนียม

รูปที่ 3 ขั้วที่ถูกต้องของไดโอดบริดจ์เรกติไฟร์

ในการนำไปใช้งานจะแบ่งไดโอดออกเป็นแบบที่ใช้งานด้านสัญญาณและด้านเรกติไฟร์ ไดโอดที่ใช้งานด้านสัญญาณ จะต้องมีลักษณะสมบัติทางด้านฟอร์เวิร์ดที่มีแรงดันตกคร่อมต่ำ ส่วนไดโอดที่ใช้งานด้านเรกติไฟร์ จะต้องใช้แบบที่ทนแรงดันย้อนกลับสูงและกระแสทางด้านฟอร์เวิร์ดสูงด้วย ในปัจจุบันผู้ผลิตได้สร้างไดโอดเรกติไฟร์แบบฟูลเวฟ ไว้ในตัวถังเดียวกัน ปกติจะเรียกว่าไดโอดบริดจ์ ซึ่งมีขั้วต่างๆ ดัง รูปที่ 3 ส่วนใน รูปที่ 4 นั้นเป็นรูปแบบของไดโอดชนิดต่างๆที่พบเห็นกันเป็นประจำ

รูปที่ 4 สัญลักษณ์และรูปแบบตัวถังของไดโอด


สงวนลิขสิทธิ์
พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved.