ไดโอดเปล่งแสง
ไดโอดเปล่งแสงหรือ
LED นี้สามารถนำไปใช้งานในการแสดงผลโดยทั่วๆไป ถ้าไม่ต้องการความสว่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับหลอดไฟธรรมดาแล้วจะเห็นว่าไดโอดเปล่งแสงนี้
สามารถทำงานโดยใช้แรงดันและกระแสไฟที่น้อยกว่ามาก ปกติจะใช้กระแสอยู่ช่วงระหว่าง
5 - 20 มิลลิแอมป์

รูปที่ 10 สัญลักษณ์และตัวถังของไดโอดเปล่งแสง
ไดโอดเปล่งแสงนี้มีรูปร่างและขนาดต่างๆกันตามการใช้งาน
ไดโอดเปล่งแสงแบบหัวมน โดยปกติจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 มิลลิเมตร และ
5 มิลลิเมตร ซึ่งทำด้วยพลาสติกโปร่งแสงดูตัวอย่างในรูปที่ 10 และถ้าเป็นแบบสี่เหลี่ยมจะมีขนาด
5*2 มิลลิเมตร มุมในการมองเห็นของไดโอดเปล่งแสงแบบหัวมนนี้จะอยู่ในช่วง 20
- 40 องศา แต่ถ้าเป็นไดโอดเปล่งแสงแบบสี่เหลี่ยมมุมในการมองเห็นจะเพิ่มขึ้นเป็นถึง
100 องศา คุณสมบัติของไดโอดเปล่งแสงโดยทั่วๆไป แสดงไว้ดังตารางข้างล่าง


รูปที่ 11 วงจรใช้งานปกติของไดโอดเปล่งแสง
ปกติการใช้งานไดโอดเปล่งแสงก็จะต่อดัง
รูปที่ 11 สามารถคำนวณได้ดังสูตร R = VF คือ แรงดันตกคร่อมไดโอดเปล่งแสงขณะนำกระแส
เพื่อความสะดวกในการคำนวณจะกำหนดค่า VF เท่ากับ 2 โวลต์ จะได้ค่าของตัวต้านทานที่ใช้ต่ออนุกรมกับไดโอดเปล่งแสงที่แรงดันต่าง
ๆ ดังตารางข้างล่างนี้

ตัวอย่าง
สมมติว่าต้องการนำไดโอดเปล่งแสงไปใช้กับแรงดัน
21 โวลต์ และมีแรงดันตกคร่อมประมาณ 2.2 โวลต์ยอมให้กระแสผ่าน 15 มิลลิแอมป์
ลองคำนวณค่าของตัวต้านทานที่จะนำมาต่ออนุกรมกับไดโอดเปล่งแสง
จากสูตรข้างต้น
R
= ค่าความต้านทานที่มีขายใกล้เคียงคือ 1.2 กิโลโอห์ม และค่ากำลังสูญเสียของตัวต้านทาน
ก็สามารถประมาณได้จาก
P
= I2R
=
(15 mA)2 * 1.2 kWถ
=
0.27 W
ดังนั้นควรเลือกตัวต้านทานให้มีอัตรากำลังสูญเสียตั้งแต่
0.5 วัตต์ขึ้นไป
เกร็ดไดโอดเปล่งแสง
-
ข้อควรระวังอย่างหนึ่งในการใช้งานไดโอดเปล่งแสงก็คือ แรงดันย้อนกลับจะต้องมีค่า
ไม่เกิน 5 โวลต์
-
สำหรับการใช้งานบางอย่างที่ใช้กับแบตเตอรี่นั้น จะต้องดูจำนวนของไดโอดเปล่งแสง
ที่ใช้ด้วย ถ้าต้องการให้ใช้ได้นานๆ ปกติจะกำหนดให้ไดโอดเปล่งแสงดวงหนึ่งกินกระแสเพียง
5 มิลลิแอมป์
-
สำหรับไดโอดเปล่งแสงสีเหลืองและสีเขียวโดยปกติจะให้ความสว่างน้อยกว่าไดโอด
เปล่งแสงสีแดงที่ระดับกระแสเท่ากัน ถ้าต้องการให้ระดับความสว่างออกมาเท่ากัน
ในกรณีที่ใช้ไดโอดเปล่งแสงสีแตกต่างกัน จะต้องเปลี่ยนค่าตัวต้านทานจำกัด
กระแสที่อนุกรม โดยคำนวณหาได้ตามสูตรปกติ จากนั้นลดค่าที่คำนวณได้ลงไปอีก
10-15 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ควรระวังปริมาณกระแสไฟฟ้าต้องไม่ให้เกินค่าทนได้สูงสุดที่กำหนดไว้ด้วย

รูปที่ 12 การนำไดโอดเปล่งแสงมาใช้กับไฟสลับแรงดันต่ำ
-
ไดโอดเปล่งแสงก็สามารถไปนำใช้กับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับแรงดันต่ำขนาดน้อย
กว่า 50 โวลต์ได้ โดยการใช้ไดโอดต่อขนานกับไดโอดเปล่งแสงดังรูปที่ 12
|