ไตรแอก

รูปที่ 7 สัญลักษณ์และรูปแบบตัวถังของไตรแอก
ไตรแอกเป็นอุปกรณ์ที่คล้ายคลึงกับไทริสเตอร์ แตกต่างกัน ตรงที่ไตรแอกสามารถนำไฟฟ้าได้ทั้งช่วงบวกและลบ
ของแรงดันใช้งาน สัญลักษณ์และรูปร่างไตรแอกนี้จะแสดงดังใน รูปที่ 7 ไตรแอกมีความคล่องตัว
ที่จะนำมาใช้ในงานควบคุมกำลังไฟฟ้ากระแสสลับเมื่อเทียบกับไทริสเตอร์ซึ่งควบคุมได้เพียงช่วงครึ่งคลื่น

รูปที่ 8 กราฟคุณลักษณะของไดแอก
สำหรับวงจรทริกอย่างง่ายของไตรแอกนั้นจะใช้คุณลักษณะของไดแอกเป็นตัวทริก
ซึ่งไดแอกจะนำไฟฟ้าเมื่อแรงดันสูงถึงประมาณ +32 โวลต์ ดูได้จากกราฟคุณลักษณะของ
ไดแอกในรูปที่ 8

รูปที่ 9 วงจรกรองแรงดันทรานเซี้ยนต์อย่างง่ายในไลน์

ไทริสเตอร์และไตรแอกสามารถทำงานสวิตช์เปิดและปิดได้อย่างรวดเร็วมาก
การสวิตช์อย่างรวดเร็วนี้ จะทำให้เกิดสัญญาณรบกวน (transients) ขึ้นปนออกไปตามสายไฟฟ้า
รบกวนการทำงานวงจรอื่นๆได้ แต่ก็สามารถใช้วงจรกรองสัญญาณแบบ L-C ป้องกันสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นได้
โดยการต่อง่ายๆดังแสดงในรูปที่ 9
|