รหัสของไดโอด
ตามระบบของยุโรปจะแบ่งไดโอดตามรหัสตัวอักษรและตัวเลขได้
2 กลุ่ม กลุ่มแรกจะมี 2 ตัวอักษร ตามด้วยตัวเลข3ตัว (สำหรับไดโอดใช้งานทั่วไป)
และอีกกลุ่ม 3 ตัวอักษร ตามด้วยตัวเลข 2 ตัว (สำหรับไดโอดใช้งานพิเศษ)
ตัวอักษรตัวแรก-หมายถึง
ประเภทของสารกึ่งตัวนำ
A
เจอร์เมเนียม
B
ซิลิคอน
C
แกลเลียมอาร์เซไนต์
D
โฟโตไดโอด
ตัวอักษรตัวที่สอง-หมายถึง
การนำไปใช้งาน
A
ไดโอดใช้งานทั่วไป
B
ไดโอดในวงจรจูนหรือวาริแคปไดโอด
E
ทันเนลไดโอด
P
โฟโตไดโอด
Q
ไดโอดเปล่งแสง
T
ไดดอดเรกติไฟร์ใช้ในงานควบคุม
X
วาแรกเตอร์ไดโอด
Y
ไดโอดเรกติไฟร์ใช้ในงานกำลัง
Z
ซีเนอร์ไดโอด
สำหรับไดโอดที่ใช้ในงานพิเศษตัวอักษรตัวที่สามจะบ่งบอกถึงความหมายในการใช้งานพิเศษ
โดยเฉพาะส่วนซีเนอร์ไดโอดจะเพิ่มตัวอักษรโดยจะอยู่หลัง ตัวเลขอ้างอิงของซีเนอร์ไดโอด
จะบอกถึงค่าผิดพลาดของแรงดันซีเนอร์ ดังนี้
A
ฑ1%
B
ฑ2%
C
ฑ5%
D
ฑ10%
และซีเนอร์ไดโอดจะเพิ่มตัวอักษรต่อออกไปอีกซึ่งแสดงถึงแรงดันซีเนอร์ตัวอย่างเช่น
9 V1 หมายถึง 9.1 โวลต์
ตัวอย่าง
(1)
AA113
(2)
BB105
(3)
BZY88C4V7
(1)
เป็นไดโอดชนิดเจอร์เมเนียม สำหรับใช้งานทั่วๆไป
(2)
เป็นไดโอดชนิดซิลิคอนใช้ในวงจรจูนบางครั้งจะหมายถึง แวริแคปไดโอด
(3)
เป็นซีเนอร์ไดโอดชนิดซิลิคอนค่าผิดพลาด 5% และมีแรงดันซีเนอร์ 4.7 โวลต์
จากข้อมูลข้างต้นจะสามารถใช้ได้กับไดโอดทั่ว ๆ ไป แต่จะใช้ไม่ได้กับไดโอดสำหรับงานพิเศษ
เช่น ชอตต์กี้ไดโอด บริดจ์เรกติไฟร์ แคตช์ไดโอด
เกร็ดไดโอด
-
การออกแบบวงจรจ่ายกำลังไฟฟ้ามีสิ่งที่สำคัญคือ แรงดันตกคร่อมไดโอดเรกติไฟร์
ในวงจรไดโอดบริดจ์จะมีไดโอด 2 ตัวนำไฟฟ้าในช่วงเวลา เดียวกันดังนั้นแรงดันตกคร่อมรวมที่สูญเสียที่ไดโอดจะมีค่าประมาณ
2 โวลต์ ซึ่งค่าแรงดันนี้จะต้องนำไปบวกเพิ่มให้กับ แรงดันไฟฟ้ากระแสสลับทางอินพุต
ของวงจรเรกติไฟร์ด้วย
-
กระแสรั่วไหลย้อนกลับของไดโอดจะมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิบริเวณรอยต่อของไดโอดเพิ่มขึ้น
จากผลอันนี้ทำให้เป็นการลดประสิทธิภาพรวมของไดโอดที่ อุณหภูมิสูงลง ดังนั้นจึงควรมีการระบายความร้อนที่ดีให้ไดโอดเมื่อต้องใช้กับกระแสในปริมาณสูงๆ
-
การทำงานของไดโอดนั้นสำคัญอยู่ที่สภาวะจำกัดสองค่าคือ VRRM หรือ PIV และ
IF เพื่อป้องกันการเสียหายของไดโอดในการใช้งาน ให้ดูที่ข้อจำกัดของไดโอดนี้ด้วย
-
ชอตต์กี้ไดโอดจะมีแรงดันตกคร่อมประมาณครึ่งหนึ่งของค่าแรงดันปกติของไดโอดชนิดซิลิคอน
ชอตต์กี้ไดโอดนี้ถูกออกแบบมาใช้ในงานด้านความถี่สูง โดยเฉพาะ พบได้บ่อยๆในวงจรสวิตชิ่งเรกูเลเตอร์หรือวงจรที่ต้องยุ่งเกี่ยวกับความถี่สูงๆ
อนุกรมของซีเนอร์ไดโอดตระกูลยุโรปที่เห็นประจำ
ดูได้จากตารางข้างล่าง

|