วงจรรักษาระดับแรงดันที่ปรับค่าได้

รูปที่ 10 วงจรแรงดันอ้างอิงที่ปรับค่าได้
 จากวงจรในรูปที่
10 ถ้าต้องการให้มีกระแสเอาต์พุตมากขึ้น สามารถทำได้โดยใช้ทรานซิสเตอร์อีกตัวหนึ่ง
Q1 ต่ออนุกรมเข้ากับวงจร ดังแสดงในรูปที่ 11 วงจรนี้ซีเนอร์ไดโอด ZD1ขนาด
7.5 โวลต์ ซึ่งมีสัมประสิทธิ์ทางอุณหภูมิ +3.7 มิลลิโวลต์ ต่อองศาเซสเซียส
จะทำให้ได้แรงดันที่ขาเบสซึ่งเป็นอินพุตของทรานซีสเตอร์ Q1 ตั้งแต่ 8.1 ถึง
16.2 โวลต์ และมีสัมประสิทธิ์ทางอุณหภูมิ +1.7 มิลลิโวลต์ต่อองศาเซสเซียส
และเมื่อผ่าน Q1 จะทำให้แรงดันลดลง 600 มิลลิโวลต์และสัมประสิทธิ์ทางอุณหภูมิลดลง
-2 มิลลิโวลต์ต่อองศาเซสเซียส ดังนั้นแรงดันเอาต์พุตจึงมีค่าตั้งแต่ 7.5-16.5
โวลต์ และมีสัมประสิทธิ์ทางอุณหภูมิที่เกือบจะเป็นศูนย์

รูปที่ 11 วงจรดันอ้างอิงที่ปรับค่าได้
และมีค่าสัมประสิทธิ์ทางอุณหภูมิเกือบเป็นศูนย์
รูปที่
12 เป็นวงจรรักษาระดับแรงดันที่ปรับค่าแรงดันเอาต์พุตได้อีกแบบหนึ่งซึ่งวงจรนี้ปรับค่าได้ตั้งแต่
0 ถึง 12 โวลต์โดยใช้ตัวต้านทานปรับค่าได้ VR1 และทรานซิสเตอร์ Q1 ที่ใช้ในการขับกระแสจากวงจร
จะเห็นได้ว่ามีการต่อไดโอด D1 อนุกรมกับซีเนอร์ไดโอด ZD1 เพื่อให้มีแรงดันเพิ่มขึ้น
600 มิลลิโวลต์ ซึ่งค่าแรงดันนี้จะชดเชยกับแรงดัน 600 มิลลิโวลต์ที่สูญเสียไปที่รอยต่อเบสอิมิตเตอร์ของ
Q1

รูปที่ 12 วงจรรักษาแรงดันที่ปรับค่าได้อีกแบบหนึ่ง
ซึ่งสามารถปรับค่าแรงดันเอาต์พุตได้ตั้งแต่ศูนย์ถึง 12 โวลต์
|