การประยุกต์ใช้ซีเนอร์ไดโอดในงานด้านอื่น
ๆ
นอกเหนือจากซีเนอร์ไดโอด
จะมีประโยชน์อย่างมาก ในการใช้สร้างแรงดันอ้างอิงและวงจรรักษษาระดับแรงดัน
แล้ว ซีเนอร์ไดโอดยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในด้านอื่น ๆ ได้อีกดังแสดงในรูปที่
13 ถึง 17

รูปที่ 13 แสดงแรงดันตดคร่อมซีเนอร์ไดโอด
เมื่อต้องอนุกรมกับตัวเก็บประจุแบบอิเล็กทรอไลด์
รูปที่
13 เป็นการนำซีเนอร์ไดโอดขนาด 6.8 โวลต์ มาใช้เป็นตัวลดแรงดันตกคร่อม (Voltage
dropper) เพื่อที่จะทำให้ตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กทรอไลต์ขนาด 1000 ไมโครฟารัด
6 โวลต์ สามารถใช้กับแหล่งจ่ายไฟกระแสดตรงขนาด 12 โวลต์ได้โดยซีเนอร์ไดโอดในวงจรนี้จะต้องมีอัตราทนกำลัง
(คิดจากกระแสคูณกับแรงดันตกคร่อมของซีเนอร์ไดโอด) เพียงพอต่อกระแสกระเพื่อมของตัวเก็บประจุ
C1 ด้วยโดยทั่ว ๆ ไป 5 วัตต์ ก็เพียงพอแล้ว

รูปที่ 14 การใช้ซีเนอร์ไดโอดเพื่อลดแรงดันที่ตกคร่อมรีเลย์
รูปที่
14 เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการใช้ซีเนอร์ไดโอดขนาด 5.6 โวลต์ เป็นตัวลดแรงดันตกคร่อม
เพื่อที่จะทำให้รีเลย์ขนาด 6 โวลต์ สามารถใช้กับแหล่งจ่ายไฟกระแสตรงขนาด
12 โวลต์ ได้และวงจรนี้ยังสามารถเปลี่ยนอัตราส่วนแรงดันของการเปิด- ปิดรีเลย์ได้ด้วย
เช่นถ้าปกติรีเลย์ทำงานที่ระดับแรงดัน 5 โวลต์ ซึ่งก็คือมีอัตราส่วนแรงดันของการเปิด-
ปิดเท่ากับ 2:1 เมื่อใช้วงจรนี้จะทำให้รีเลย์ทำงานที่ระดับแรงดัน 10.6 โวลต์
และหยุดทำงานที่ 8.1 โวลต์ หรือมีอัตราส่วนแรงดันของการปิด-เปิดเท่ากับ1.3:1

รูปที่ 15 วงจรลิมิตเตอร์แบบครึ่งคลื่น
รูปที่15
เป็นการใช้ตัวต้านทานและซีเนอร์ไดโอดมาต่อเป็นวงจรลิมิตเตอร์แบบครึ่งคลื่น
ซึ่งจะทำหน้าที่รับสัญญาณอินพุตกระแสสลับและให้สัญญาณเอาต์พุตที่ครึ่งบวกถูกจำกัด
ที่ค่าแรงดันของซีเนอร์ไดโอด ZD1 และครึ่งลบถูกาจำกัดที่ค่าแรงดัน 600 มิลลิโวลต์
(แรงดันที่ตกคร่อมรอยต่อ ZD1 )

รูปที่ 16 วงจรลิมิตเตอร์แบบเต็มคลื่น
รูปที่
16 เป็นวงจรลิมิตเตอร์แบบเต็มคลื่น ซึ่งใช้ตัวต้านทานและซีเนอร์ไดโอดสองตัวต่อกลับด้านกัน
วงจรนี้ จะทำหน้าที่รับสัญญาณอินพุตกระแสสลับและให้สัญญาณเอาต์พุต ที่ครึ่งบวก
ถูกจำกัดที่ผลบวกของค่าแรงดันของซีเนอร์ไดโอด ZD1และแรงดัน 600 มิลลิโวลต์
ของรอยต่อซีเนอร์ไดโอด ZD2และครึ่งลบถูกจำกัดที่ผลบวกของค่าแรงดันของ ZD2
และแรงดัน 600 มิลลิโวลต์ของรอยต่อ ZD1

รูปที่ 17 มิเตอร์
suppressed zero วัดแรงดันช่วง 10 โวลต์ ถึง 15 โวลต์
|