สารานุกรมไดโอดฉบับย่อย ตอนที่ 1
: บุญชัย งามวงศ์วัฒนา
|
|
หน้าแรก |
วงจรเร็กติไฟเออร์แบบเต็มคลื่น จากรูปที่ 12 แสดงการนำไดโอด 4 ตัวมาต่อกันในลักษณะบริดจ์ เพื่อใช้เป็นวงจรเร็กติไฟเออร์แบบเต็มคลื่น ซึ่งสัญญาณ เอาต์พุตของวงจรนี้จะมีความถี่เป็น 2 เท่าของสัญญาณอินพุต ดังนั้นวงจรนี้จึงสามารถใช้เป็น วงจรเพิ่มความถ ี่เป็นสองเท่าอย่าง ง่ายได้อีกด้วย รูปที่ 12 วงจรเร็กติไฟเออร์แบบเต็มคลื่น แต่การใช้งานที่เรารู้จักกันมากที่สุดของวงจรเร็กติไฟเออร์ก็คือ การนำมาใช้ในวงจรแหล่งจ่ายกระแสตรง ซึ่งประกอบด้วย หม้อแปลงที่ใช้ในการแปลงแรงดันจากไฟกระแสสลับ 220 โวลต์ตามบ้าน เป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ ในระดับที่ต้องการใช้งาน และวงจรเร็กติไฟเออร์ที่ต่อร่วมกับวงจรกรองกระแส จะทำหน้าที่ในการแปลงแรงดัน ไฟกระแสสลับที่ได้จากหม้อแปลงให้เป็น แรงดันไฟกระแสตรงที่ราบเรียบตามต้องการ รูปที่ 13 วงจรจ่ายไฟตรงแบบเดียวใช้หม้อแปลงธรรมดาไม่มีแท็ปกลาง รูปที่ 13 ถึง 16 แสดงวงจรแหล่งจ่ายไฟกระแสตรงพื้นฐานที่ใช้กันมากทั้ง 4 แบบ วงจรในรูปที่ 13 จะให้แรงดันไฟ กระแสตรงจากหม้อแปลงธรรมดา (singer-ended tranformer) ซึ่งต่อร่วมอยู่กับวงจรเร็กติไฟเออร์แบบบริตจ์ และให้ผล เช่นเดียวกับวงจรในรูปที่ 14 ซึ่งใช้หม้อแปลงชนิดมีแท็ปกลาง (center-tapped tranformer) ส่วนวงจรรูปที่ 15 และ 16 ก็มีลักษณะการทำงานคล้ายคลึงกับวงจรที่ 13 และ 14 เพียงถูกออกแบบให้เป็นแหล่งจ่ายไฟ แบบคู่ (ไฟบวก, กราวด์, ไฟ, ลบ) รูปที่ 14 วงจรจ่ายไฟจรงแบเดี๋ยวใช้หม้อแปลงมีแท็ปกลาง รูปที่ 15 วงจรจ่ายไฟตรงแบบคู่ใช้ไดโอดบริดจ์ รูปที่ 16 วงจรจ่ายไฟตรงแบบคู่ใช้ไดโอดต่อร่วมกัน 4 ตัว |
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved. |