กลับหน้าบทความอิเล็กทรอนิกส์ | SE-ED.com | Electronics Society | ThailandIndustry.com | Webboards |
สารานุกรมไดโอดฉบับย่อย ตอนที่ 1 : บุญชัย งามวงศ์วัฒนา

ที่มา : วารสาร SEMICONDUCTER ฉบับที่ 137 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2537

หน้าแรก
ทบทวนกับไดโอดพื้นฐาน กันก่อน
ไดโอดชนิดซิลิกอนกับ อีกหลายบทบาทที่พิเศษกว่าเดิม
วงจรเร็กติไฟเออร์แบบครึ่งคลื่น
วงจรเร็กติไฟเออร์แบบเต็มคลื่น
การเลือกใช้งานหม้อแปลง
การเลือกตัวเก็บประจุ กรองกระแส
สรุปค่าต่าง ๆ ที่ควรคำนึง ของวงจร เร็กติไฟเออร์


การเลือกตัวเก็บประจุกรองกระแส

ตัวเก็บประจุที่ใช้ในวงจรแหล่งจ่ายไฟกระแสตรงทำหน้าที่กรองกระแส (filter) แรงดันทางเอาต์พุตที่ผ่าน การเร็กติไฟร์มา แล้ว ซึ่งยังมีลักษณะกระเพื่อมอยู่มาก ให้เป็นแรงดันไฟกระแสตรงที่เรียบขึ้น เพื่อนำไปใช้งานต่อไป การเลือกขนาดของตัวเก็บประ จุ ที่จะใช้ในการกรองกระแสนี้ ต้องคำนึงถึงค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญ 2 ประการคือ ระดับแรงดัน ใช้งานสูงสุดของตัวเก็บประจุ ซึ่ง จะต้องมีค่ามากกว่าแรงดันไฟกระแสตรงของแหล่งจ่ายไฟ ขณะไม่ได้ต่อโหลดเพื่อป้องกัน ไม่ให้ตัวเก็บประเสียหาย และค่าความ จุของตัวเก็บประจุที่จะต้องเพียงพอ ที่จะทำให้แรงดันไฟกระแสตรงจากแหล่งจ่าย ไฟมีลักษณะเรียบและสามารถนำไปใช้งานได้

ในวงจรเร็กติไฟเออร์แบบเต็มคลื่นที่อินพุตต่อกับแรงดันไฟกระแสสลับที่มีความถี่ 50-60 เฮิรตซ์ และเอาต์พุตต่อ กับโหลด ที่กินกระแส 100 mA ทำให้มีค่าแรงดันกระเพื่อมประมาณ 700 mV (พีคทูพีค) และใช้ตัวเก็บประจุค่า 1,000 ไมโครฟารัด เป็นตัวกรองกระแส ซึ่งค่าแรงดันกระเพื่อมจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับกระแสโหลด และเป็นสัดส่วนผกผัน กับค่าความจุ ดังแสดง ในรูปที่ 18 ในการใช้งานในทางปฏิบัติ แรงดันกระเพื่อมควรต่ำกว่า 1.5 โวลต์ (พีคทูพีค) ขณะรับกระแสโหลดเต็มที่ จึงจะใช้ งานได้ดี หรือในกรณีที่ต้องการแรงดันกระเพื่อมต่ำมาก ๆ ก็อาจใช้ไอซีเรกูเลเตอร์ 3 ขาก็ได้ ซึ่งสามารถลดแรงดันกระเพื่อมได้ ถึง60 เดซิเบล ด้วยงบประมาณที่ถูกเช่นเดียวกัน

รูปที่ 18 กราฟแสดงการเลือกใช้ตัวเก็บประจุกรองกระแส


สงวนลิขสิทธิ์
พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved.