กลับหน้าบทความอิเล็กทรอนิกส์ | SE-ED.com | Electronics Society | ThailandIndustry.com | Webboards |
สารานุกรมไดโอดฉบับย่อย ตอนที่ 1 : บุญชัย งามวงศ์วัฒนา

ที่มา : วารสาร SEMICONDUCTER ฉบับที่ 137 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2537

หน้าแรก
ทบทวนกับไดโอดพื้นฐาน กันก่อน
ไดโอดชนิดซิลิกอนกับ อีกหลายบทบาทที่พิเศษกว่าเดิม
วงจรเร็กติไฟเออร์แบบครึ่งคลื่น
วงจรเร็กติไฟเออร์แบบเต็มคลื่น
การเลือกใช้งานหม้อแปลง
การเลือกตัวเก็บประจุ กรองกระแส
สรุปค่าต่าง ๆ ที่ควรคำนึง ของวงจร เร็กติไฟเออร์



การเลือกใช้งานหม้อแปลง

ปัจจัยในการเลือกใช้งานหม้อแปลงที่สำคัญ ๆ มีอยู่ 3 ปัจจัยคือ แรงดันด้านขดเซกันดารี่, อัตราทนกำลังและ เรกูเลชั่นแฟก เตอร์ แรงดันด้านขดเซกันดารี่โดยทั่วไปจะบอกเป็นแรงดันอาร์เอ็มเอส (rms) ที่โหลดมีอัตรากำลังสูงสุด ซึ่งมีหน่วยเป็นโวลท์ แอมป์ (VA) หรือวัตต์ เช่นหม้อแปลง 15 โวลท์ (rms) เมื่อต่อกับโหลดที่ต้องการกำลัง 20 วัตต์ แต่เมื่อไม่มีโหลดแรงดันด้านขด เซกันดารี่จะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งค่าที่เพิ่มขึ้นนี้แสดงถึงค่าเรกูเลชั่นแฟกเตอร์ ดังนั้นถ้าแรงดัน ด้านขดเซกันดารี่มีค่า 15 โวลท์ และหม้อ แปลงมีค่าเรกูเลชั่นแฟกเตอร์ 10 เปอร์เซ็นต์ (ซึ่งเป็นค่าปกติของหม้อแปลงทั่ว ๆ ไปด้วย) ขณะไม่มีโหลด แรงดันด้านขดเซกัน ดารี่ จะได้เท่ากับ 16.5 โวลท์

รูปที่ 17 กราฟแสดงการเลือกใช้หม้อแปลง

ค่าแรงดัน (rms) ของขดเซกันดารี่จะมีค่าไม่เท่ากับค่าแรงดันไฟกระแสตรงทางเอาต์พุตของวงจรเร็กติไฟเออร์แบบ เต็มคลื่น จากรูปที่ 17 เราสามารถคำนวณค่าแรงดันไฟกระแสตรงทางเอาต์พุต โดยจะมีค่าเป็น 1.41 เท่าของแรงดัน ด้านขด เซกันดารี่ของหม้อแปลงแบบธรรมดา และ 0.71 เท่าสำหรับหม้อแปลงแบบมีแท็ปกลาง (เมื่อไม่คิดการสูญเสีย เนื่องจากการเร็ก ติไฟเออร์) ตัวอย่าง เช่น หม้อแปลงแบบธรรมดา 15 โวลท์ มีค่าเรกูเลชั่นแฟกเตอร์ 10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อผ่านวงจรเร็กติไฟเออร์แล้ว จะสามารถจ่ายแรงดันไฟตรงได้ประมาณ 21 โวลต์ ขณะโหลดต้องการกำลังสูงสุด (ที่กระแส 1 แอมป์ และกำลังงาน 20 วัตต์ ) และ 23.1 โวลต์ ขณไม่มีโหลด และถ้าคิดการสูญเสียเนื่องจากการเร็กติไฟร์ด้วย แรงดันไฟกระแสตรงทางเอาต์พุตจะลดลงเล็ก น้อยเนื่องจากมีแรงดัน บางส่วน ตกคร่อมที่ไดโอด โดยวงจรรูปที่ 14 และ 15 การสูญเสียจากการเร็กติไฟร์มีค่าประมาณ 0.6 โวลต์และรูปที่ 13 และ 15 มีค่าประมาณ 1.2 โวลต์

รูปที่ 13 วงจรจ่ายไฟตรงแบบเดียวใช้หม้อแปลงธรรมดาไม่มีแท็ปกลาง

รูปที่ 14 วงจรจ่ายไฟตรงแบบเดี่ยวใช้หม้อแปลงมีแท็ปกลาง

รูปที่ 15 วงจรจ่ายไฟตรงแบบคู่ไดโอดบริดจ์

สรุปการเลือกใช้งานหม้อแปลงก็เพียวแต่กำหนดค่าแรงดันไฟกระแสตรงทางเอาต์พุตและกระแสที่ต้องการใช้งาน ซึ่ง ผลคูณของค่าทั้งสองนี้จะได้ค่า VA ต่ำสุดของหม้อแปลง และจากกราฟรูปที่ 17 เมื่อทราบค่าแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงทาง เอาต์พุตก็จะทราบค่าแรงดันด้านขดเซกันดารี่ของหม้อแปลงด้วย

 


สงวนลิขสิทธิ์
พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved.