สารานุกรมไดโอดฉบับย่อย ตอนที่ 2
: บุญชัย งามวงศ์วัฒนา
|
|
หน้าแรก |
วงจรเร็กติไฟร์(diode rectifier circuit) จากรูปที่ 4 แสดงการใช้ไดโอดเป็นวงจรเร็กติไฟร์แบบครึ่งคลื่นทั้ง 4 แบบ โดยนำสัญญาณอินพุตมา จากแหล่งจ่ายที่มี อิมพีแดนซ์ต่ำ เมื่อพิจารณาในทางอุดมคติ (ไม่คิดแรงดันที่ตกคร่อมไดโอด) วงจรในรูปที่ 4 (ก) และ 4 (ง) จะให้สัญญาณเอาต์ พุต เฉพาะด้านบวกเท่านั้น ส่วนวงจรในรูปที่ 4 (ข) และ 4 (ค) จะให้สัญญาณเอาต์พุตเฉพาะด้านลบเท่านั้น และวงจรในรูปที่ 4 (ก) และ 4(ข) จะมีอิมพีแดนซ์ทางด้านเอาต์พุตต่ำ (ประมาณเท่ากับอิมพีแดนซ์ของแหล่งจ่ายสัญญาณอินพุต ) ส่วนวงจรในรูปที่ 4 (ค) และ 4 (ง) จะมีอิมพีแดนซ์ทางด้านเอาต์พุตสูง (ประมาณเท่ากับค่า R1) รูปที่ 4 วงจรเร็กติไฟร์ทั้ง4 แบบ จากรูปที่ 5 เป็นวงจรที่เกิดจากการนำวงจรที่ 4 (ค) และ 4 (ง) มารวมกัน เพื่อใช้เป็นวงจรลิมิตเตอร์ (limiter) วงจรนี้จะ รับสัญญาณอินพุตไม่ว่าจะขนาดเท่าใดก็ตาม ซึ่งจะให้สัญญาณเอาต์พุตที่มีขนาดจำกัดเพียง 600 มิลลิโวลต์โดย D1 และD2 เท่านั้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในการเปลี่ยนสัญญาณสามเหลี่ยมเป็นสัญญาณซายน์ได้ด้วย เมื่อมีการปรับตัวต้านทาน VR1 ให้ สามารถขลิบแรงดันยอดของสัญญาณสามเหลี่ยมได้อย่างเหมาะสม (สัญญาณซายน์ที่ได้นี้จะมีความเพี้ยนประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์) หรือนำไปใช้ ในการจำกัดสัญญาณรบกวนให้สัญญาณออดิโอ โดยการปรับตัวต้านทาน VR1 ให้เกิดการขลิบสัญญาณรบกวนออก ไป รูปที่ 5 วงจรลิมิตเตอร์ จากรูปที่ 6 เป็นการดัดแปลงวงจรในรูปที่ 4 (ก) และ 4(ข) ให้สามารถจ่ายแรงดันเอาต์พุตที่มีค่าสูงกว่าหรือต่ำกว่าแรงดัน อ้างอิง (แรงดันไบแอส) ได้ โดยวงจรในรูปที่ 6 (ก) จะให้แรงดันเอาต์พุตที่มีค่ามากกว่า +2 โวลต์ เท่านั้น , รูปที่ 6 (ข) ให้แรงดัน เอาต์พุตที่มีค่าน้อยกว่า +2 โวลต์ , รูปที่ 6 (ค) มากกว่า -2 โวลต์และรูปที่ 6 (ง) น้อยกว่า -2 โวลต์ สำหรับโหลดทางเอาต์พุตของ วงจรนี้ควรมีอิมพีแดนซ์ต่ำ ๆ เมื่อเทียบกับค่าของ R1 รูปที่ 6 วงจรเร็กติไฟร์ที่มีการไบแอส |
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved. |