สารานุกรมไดโอดฉบับย่อย ตอนที่ 2
: บุญชัย งามวงศ์วัฒนา
|
|
หน้าแรก |
วงจรทวีแรงดัน (Voltage multiplier circuit) จากรูปที่ 7 ถึง 9 แสดงการใช้ไดโอดและตัวเก็บประจุในการสร้างวงจรทวีแรงดันไฟสลับ ซึ่งให้เอาต์พุตเป็น แรงดันไฟ ตรงที่มีค่าทวีจำนวนจากค่าแรงดันสูงสุด ของแรงดันไฟสลับทางด้านอินพุตวงจรเหล่านี้ ถึงแม้จะดูค่อนข้าง ซับซ้อน แต่การทำ งานของวงจรกลับเป็นเรื่องไม่ยากเลย เช่นวงจรทวีแรงดันสองเท่าใรรูปที่ 7 แท้จริงแล้วประกอบด้วย วงจรแคลมป์ (C1และD1 ) ซึ่งจะให้เอาต์พุตเป็นแรงดันไฟสลับที่มีค่าสูงสุดเท่ากับค่าแรงดัน จากยอดถึงยอดของสัญญาณ อินพุตและวงจรดีเท็กค์ค่าแรง ดัน ยอด (D2 และ C3) ซึ่งจะให้เอาต์พุตเป็นแรงดันไฟตรงที่มีค่าเท่ากับแรงดันสูงสุด ของแรงดันอินพุตที่ D2 ส่วนในรูปที่ 7 (ก) แสดงการเขียนวงจรทวีแรงดันสองเท่า ซึ่งให้เห็นการทำงานอย่างชัดเจน และรูปที่ 7 (ข) แสดงการเขียนวงจรแบบมาตร ฐานที่ ใช้กัน รูปที่ 7 วงจรทวีแรงดันสองเท่า จากรูปที่ 8 แสดงวงจรทวีแรงดันสามเท่า ซึ่งให้เอาต์พุตเป็นแรงดันไฟตรงที่มีค่าเป็นสามเท่าของแรงดันสูงสุด (นับจาก แกนสมมาตรคือศูนย์โวลต์) ของสัญญาณอินพุตที่เป็นไฟสลับ จากรูปที่ 8 (ก) D3 และ C3 ทำหน้าที่ในการดีเท็กค์ค่าแรงดัน สูงสุดซึ่งจะได้แรงดัน +5 โวลต์ ที่จุดต่อระหว่าง D3 กับ C3 และ C1,D1,D2,C2 ทำหน้าที่เป็นส่วนทวีแรงดันสองเท่า (เช่น เดียว กับรูปที่ 7 ) ซึ่งจะเพิ่มแรงดันในช่วงที่เกินระดับ +5 โวลต์ เป็นสองเท่า และจะได้แรงดันเอาต์พุตทั้งหมด + 15 โวลต์ วงจรนี้เมื่อ พิจารณาให้ดั จะเห็นว่าประกอบด้วย D3,C3 ซึ่งเป็นครึ่งส่วนของวงจรทวีแรงดันสองเท่า และ C1,D1,D2,C2 เป็นวงจรทวี แรงดันสองเท่าเต็มส่วน ดังแสดงในรูปที่ 8 (ข) รูปที่ 8 วงจรทวีแรงดันสามเท่า จากรูปที่ 9 แสดงวงจรทวีแรงดันสี่เท่า ซึ่งจะให้เอาต์พุตเป็นแรงดันไฟตรงที่มีค่าเป็นสี่เท่าของแรงดันสูงสุด (นับจากแกนสมมาตรคือศูนย์โวลต์) ของสัญญาณอินพุตที่เป็นไฟสลับ โดย C1,D1,D2,C2 ทำหน้าที่เป็นส่วนทวีแรงดันสองเท่า ซึ่ง จะทำให้แรงดัน +10 โวลต์ที่จุดต่อระหว่าง D2 กับ C2 และ C3,D3,D4,C4 ทำหน้าที่เป็นส่วนทวีแรงดันสองเท่าเช่นเดียว กัน ซึ่งจะทำให้แรงดันอีก +10 โวลต์ ระหว่างจุดต่อ D2 กับ C2 และจุดต่อ D4 กับ C4 เมื่อรวมแล้วจะได้แรงดันเอาต์พุต +20 โวลต์ ระหว่างจุต่อ D4 กับ C4 และกราวด์ รูปที่ 9 วงจรทวีแรงดันสี่เท่า จากรูปที่ 8 (ข) และ 9 (ข) จะเห็นได้ว่าเมื่อต้องการให้มีการทวีแรงดันเป็นกี่เท่า ก็สามารถทำได้โดย การเพิ่มส่วนทวีแรง ดันสองเท่าครึ่งส่วน หรือเต็มส่วนอย่างเหมาะสม เช่น ถ้าต้องการการสร้างวงจรทวีแรงดันเจ็ดเท่า ก็สามารถทำได้โดยนำวงจร ทวีแรงดันสองเท่าแบบเต็มส่วนสามวงจร และวงจรทวีแรงดันที่กล่างมาทั้งหมด สิ่งที่จะต้อง คำนึงในการใช้งานก็คือ ไดโอดและ ตัวเก็บประจุทุกตัวในวงจร จะต้องสามารถทนแรงดันได้อย่างน้อยที่สุดสองเท่า ของแรงดันสูงสุดของสัญญาณอินพุต จากรูปที่ 7 ถึง 9 นี้ ถ้าหากต้องการให้แรงดันเอาต์พุตเป็นไฟลบ สามารถทำได้โดยการ กลับขั้วของไดโอดและ ตัวเก็บประจุ ทุกตัวในวงจร เช่น จากวงจรทวีแรงดันสองเท่าในรูปที่ 7 ซึ่งให้แรงดันเอาต์พุตเป็นไฟบวก เมื่อกลับขั้วของ อุปกรณ์ทุกตัวแล้วก็ สามารถให้แรงดันเอาต์พุตเป็นไฟลบได้ ดังแสดงในรูปที่ 10 รูปที่ 10 วงจรทวีแรงดันสองเท่าชนิดไฟลบ |
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved. |