กลับหน้าบทความอิเล็กทรอนิกส์ | SE-ED.com | Electronics Society | ThailandIndustry.com | Webboards |
สารานุกรมไดโอดฉบับย่อย ตอนที่ 2 : บุญชัย งามวงศ์วัฒนา

ที่มา : วารสาร SEMICONDUCTER ฉบับที่ 138 เดือน เมษายน พ.ศ. 2537

หน้าแรก
วงจรแคลป์
วงจรเร็กติไฟร์
วงจรทวีแรงดัน
วงจรพัมพ์
วงจรแดมป์
วงจรเกต
การประยุกต์ใช้งานวงจรไดโอด แบบอื่น ๆ
การกวาดเส้นคู่ในสโคป



วงจรแดมป์ (daming diode circuit)

โดยทั่ว ๆ ไปอุปกรณ์ จำพวกตัวเหนี่ยวนำ เช่น หม้อแปลง , คอยล์ หรือมอเตอร์ไฟฟ้า เมื่อหยุดการทำงานอย่าง ทันทีทันใด จะยังคงมีกระแสไหลอยู่หรือที่เรียกว่า back-emf ซึ่งอาจจะทำความเสียหาย ให้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ต่อ รวมกันอยู่ได้ แต่ สามารถที่จะป้องกันได้โดยต่อไดโอดคร่อมอุปกรณ์ตัวเหนี่ยวนำ ดังวงจรรีเลย์ในรูปที่ 11 โดยไดโอด D1 จะป้องกันแรงดันที่มี ต่อมากกว่า 600 มิลลิโวลต์ ที่สวิงอยู่บนแรงดันจากแหล่งจ่ายช่วงไฟบวก ที่จุดต่อระหว่าง รีเลย์กับสวิตซ์ S1 และไดโอด D2 ( แสดงด้วยเสันประ) จะใช้ในการป้องกันแรงดันที่มีค่ามากกว่า 600 มิลลิโวลต์ที่สวิงอยู่บนแรงดันจากแหล่งจ่ายช่วงไฟลบที่จุดต่อ ระหว่างรีเลย์กับสวิตซ์ S1

รูปที่ 11 วงจรแดมป์ที่ใช้ในการป้องกัน back-emf จากขดลวดรีเลย์

ในการใช้งานทั่ว ๆไป ไดโอดเพียงตัวเดียวก็เพียวพอแล้วสำหรับการป้องกัน back-emf จากรีเลย์ แต่ในบางกรณี ถ้าหากใช้ทรานซิสเตอร์ หรืออุปกรณ์โซลิตสเตตอื่น ๆ แทนสวิตซ์ S1 เพื่อการป้องกันที่ดียิ่งขึ้น อาจจะใช้ไดโอด 2 ตัว ซึ่งสามารถป้อง กัน back-emf ที่มีแรงดันมากกว่า 600 มิลลิโวลต์ จากแหล่งจ่ายไฟทั้งช่วงบวกและช่วงลบ

 


สงวนลิขสิทธิ์
พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved.