การกวาดเส้นคู่ในสโคป (scope trace
doubler)
 รูปที่
20 แสดงการนำไดโอดมาใช้ในออสซิลโลสโคป เพื่อให้มีการกวาดเป็นเส้นคู่ ซึ่งจะทำให้สามารถแสดงรูปสัญลักษณ์
2 สัญลักษณ์บนหน้าจอได้ในเวลาเดียวกัน ไดโอดทั้ง 2 ตัวจะทำหน้าที่ควบคุมทางผ่านของสัญญาณ
โดยมีอินพุตเป็นสัญญาณ สี่เหลี่ยมขนาด 10 โวลต์ ใช้ในการขับไดโอดให้ทำงาน
และเมื่อสัญญาณอินพุตนี้ผ่านตัวเก็บประจุ C1 จะได้สัญญาณที่มีค่าอยู่
ระหว่าง +5 โวลต์ ถึง -5 โวลต์ ที่จุดต่อระหว่าง C1 กับ R1

รูปที่ 20 วงจรไดโอดที่ใช้ควบคุมทางผ่านของสัญญาณ
ในการกวาดเส้นคู่ของออสซิสโลสโคป
ดังนั้นเมื่อจุดต่อระหว่าง
C1 กับ R1 มีแรงดัน +5 โวลต์ ไดโอด D2 จะได้รับไบแอสกลับและทำให้
R2,C2 ถูกตัดออก จากวงจรแต่ไดโอด D1 จะไดัรับไบแอสตรงและทำให้ตัวต้านทาน
R1 และ R3 ต่อถึงกัน ที่จุดนี้จะได้แรงดัน เอาต์พุตที่มีแรง
ดันเฉลี่ย +2.5 โวลต์ และมีสัญญาณอินพุตที่ 1 ซ้อนทับอยู่ปรากฏที่เอาต์พุต
และเมื่อจุดต่อระหว่าง C1 กับ R1 มีแรงดัน -5 โวลต์ เข้ามาไดโอด
D1 จะเปิดวงจร และ ไดโอด D2 ลัดวงจร ซึ่งจะได้แรงดันเอาต์พุตที่มีแรงดันเฉลี่ย
-2.5 โวลต์ และมี สัญญาณอินพุตที่ 2 ซ้อนทับอยู่ปรากฏที่เอาต์พุต สัญญาณเอาต์พุตที่ได้เหล่านี้เมื่อผ่านไป
ยังตัวยิงลำแสงของสโคป จะทำให้ สัญญาณทางแนวตั้งหายไป และจะได้รูปสัญญาณของอินพุตที่
1 และอินพุตที่ 2 ที่แยกออกจากกันปรากฏบนหน้าจอ โดยสัญญาณ ทั้งสองจะแยกออกจากกันปรากฏบนหน้าจอ
โดยสัญญาณทั้งสองจะแยก ออกจากกันมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับขนาดแอมปลิจูดของ
สัญญาณสี่เหลี่ยมที่ใช้ในการขับไดโอด
สำหรับความถี่ของสัญญาณสี่หลี่ยมที่ใช้ในการขับไดโอดจะมีค่ามากกว่า
หรือมีค่าเป็นครึ่งหนึ่งของความถี่ฐานเวลา ของ สโคปก็ได้ แต่กรณีที่มีค่าเป็นครึ่งหนึ่งของความถี่ฐานเวลาสโคป
จะทำให้สโคปแสดงรูปสัญญาณอินพุตที่ 1 และอินพุตที่ 2 สลับ กัน
มาถึงตรงนี้
คุณคงจะรู้จักกับไดโอดดีขึ้น หรือใครที่ลืม ๆ มันไปแล้ว สารานุกรมฉบับย่อยของไดโอดตอนนี้
คงช่วยให้คุณ รื้อฟื้นความจำกันได้บ้าง สำหรับตอนหน้าพลาดไม่ได้กับเรื่องของซีเนอร์ไดโอดล้วน
ๆ ...
|