กลับหน้าบทความอิเล็กทรอนิกส์ | SE-ED.com | Electronics Society | ThailandIndustry.com | Webboards |
สารานุกรมไดโอดฉบับย่อย ตอนจบ : บุญชัย งามวงศ์วัฒนา

ที่มา : วารสาร SEMICONDUCTER ฉบับที่ 140 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2537

หน้าแรก
การประยุกต์ใช้งาน LED
การเลือกใช้ LED
การนำ LED หลาย ๆ ตัว มาต่อใช้งานร่วมกัน
วงจรควบคุม LED แบบต่างๆ
วงจรไฟกระพริบอย่างง่าย
โฟโต้ไดโอด
โฟโต้ทรานซิสเตอร์
ออปโต้คัปเปลอร์
วาริแคปไดโอด



การประยุกต์ใช้งาน LED

LED ไดโอดเปล่งแสงเป็นไดโอดชนิดพิเศษ ที่สามารถเปล่งแสงออกมาได้ ไม่ว่าจะเป็นแสง ในช่วงที่สายตามองเห็น

เมื่อเปรียบเทียบกับหลอดไฟชนิดทังสเตนแล้ว LED จะมีประสิทธิภาพสูงกว่าประมาณ 10-15 เท่า และยังมีการตอบสนองต่อแสงที่เร็วกว่าด้วย คือประมาณ 0.1 ไมโครวินาที เมื่อเทียบกับหลอดไฟชนิดทังสเตน ซึ่งใช้เวลาในระดับมิลลิวินาที ดังนั้นโดยทั่ว ๆ ไป LED จึงเหมาะที่จะใช้เป็นตัวแสดงผลหรือใช้เป็นไฟกะพริบ

เมื่อ LED ได้รับกระแสไบแอสตรงจะมีแรงดันตกคร่อม LED ประมาณ 2 โวลต์ ดังแสดงในตารางที่ 1 ซี่งเป็นค่าแรงดันไบแอสตรงของ LED สีต่าง ๆ ที่กระแสไบแอสตรง 20 มิลลิแอมป์ และถ้า LED ได้รับการไบแอสกลับ ก็จะเกิดปรากฏการณ์อะวาลานซ์หรือซีเนอร์เช่นเดียวกับไดโอดชนิดอื่น ๆ แต่ค่าแรงดันนั้นจะมีค่าน้อยกว่า ดังแสดงในรูปที่ 1 โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว LED จะทนแรงดันย้อนกลับได้สูงสุดประมาณ 3-5 โวลต์

รูปที่ 1 เมื่อ LED ได้รับไบแอสกลับกราฟที่ได้จะมีลักษณะคล้ายกับของซ๊เนอร์ไดโอด

ในการนำ LED ไปใช้งาน จะต้องต่อตัวต้านทานจำกัดกระแสอนุกรมเข้ากับ LED ด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ LED เสียหาย รูปที่ 2 แสดงการหาด่าตัวต้านทาน R เพื่อให้ได้กระแสที่พอเหมาะแก่ LED โดย R จะต่อที่ขั้วแคโทด หรือแอโนดของ LED ก็ได้ความสว่างของ LED จะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณกระแสที่ไหลผ่านตัวมัน โดยทั่ว ๆ ไป LED จะสามารถทนกระแสได้สูงสุดประมาณไม่เกิน 30-40 มิลลิแอมป์

รูปที่ 2 แสดงการหาค่าความต้านทานเมื่อทราบค่าแรงดัน Vf และกระแส If

LED ยังสามารถนำไปใช้กับไฟสลับได้ด้วยดังแสดงในรูปที่ 3 โดยการนำไดโอดธรรมดามาต่อกลับขั้วขนานกับ LED เพื่อป้องกันไม่ให้ LED ได้รับไบแอสกลับ สำหรับค่า R ควรจะมีค่าเป็นครึ่งหนึ่ง ของเมื่อคำนวณได้จากวงจรไฟตรง เพื่อให้ความสว่างเท่าเดิม และถ้าวงจรนี้ใช้กับแหล่งจ่ายไฟสลับที่มีค่าแรงดันสูง ๆ ตัวต้านทาน R ก็จะต้องมีอัตราทนกำลังสูง ๆ ตามไปด้วย เช่นถ้าใช้กับแหล่งจ่ายไฟ 250 โวลต์ ตัวต้านทานควรอัตราทนกำลังอย่างน้อยที่สุด 2.5 โวลต์ เมื่อคิดที่กระแสที่ผ่าน LED เฉลี่ยประมาณ 10 มิลลิแอมป์หรือถ้าไม่ต้องการใช้ตัวต้านทานที่มีอัตราทนกำลังสูง ๆ ก็อาจใช้ตัวเก็บประจุจำกัดกระแสที่ผ่าน LED ตามต้องการได้เช่นเดียวกัน โดยตัวเก็บประจุ Cs จะมีอัตรากำลังสูญเสียน้อยมาก เนื่องจากกระแสและแรงดันที่ Cs มีเฟสต่างกัน 90 องศา สำหรับค่าของ Cs ประมาณ 0.1 และ 0.22 ไมโครฟารัดสำหรับไฟสลับ 50-60 เฮิรตซ์ 250 โวลต์ และ 125 โวลต์ตามลำดับ

รูปที่ 3 การใช้ LED เป็นตัวแสดงผลในวงจรไฟสลับที่มีแรงดันต่ำ

รูปที่ 4 การใช้ LED เป็นตัวแสดงผลในวงจรไฟสลับที่มีแรงดันสูง

วงจรในรูปที่ 5 LED ยังสามารถใช้เป็นตัวแสดงผลการทำงานของฟิวส์ได้ด้วย ในสภาวะปกติวงจรจะถูกลัดโดยฟิวส์แต่เมื่อฟิวส์ขาดจะทำให้วงจรนี้ทำงานและกระแสโหลด นั้นจะถูกจำกัดโดย Cs

รูปที่ 5 การใช้ LED เป็นตัวแสดงผลการทำงานของฟิวส์


สงวนลิขสิทธิ์
พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved.