วงจรไฟกะพริบอย่างง่าย
 ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างเฉพาะวงจรควบคุม
LED ที่ง่ายที่สุด และมีการใช้งานกันมากซึ่งก็คือ วงจรไฟกะพริบซึ่งจะเปิดปิด
LED สลับไปมาในอัตราปกติหนึ่งหรือสองครั้งต่อ วินาที และถ้าใช้ LED สองตัวก็มีลักษณะการทำงานเช่นเดียวกันเพียงแต่วงจรควบคุมจะต้องทำหน้าที่ให้
LED ทั้งสองตัวเปิดปิดสลับกัน ตัวอย่างของวงจรไฟกะพริบที่ใช้ LED สองตัวในการใช้งานจริงแสดงดังรูปที่
13 และ 14

รูปที่ 13 วงจรไฟกะพริบที่ใช้ทรานซิสเตอร์มีอัตราการกระพริบ
1 ครั้งต่อวินาที

รูปที่ 14 วงจรไฟกะพริบที่ใช้ไอซี
555
จากรูปที่
13 เป็นวงจรไฟกะพริบที่ใช้ LED สองตัว และทรานซิสเตอร์สองตัววงจรนี้ สามารถใช้เป็นวงจรไฟกะพริบ
ที่ใช้ LED ตัวเดียวได้ด้วย โดยการลัดวงจร LED ตัวที่ไม่ใช้ออกจากวงจรทรานซิสเตอร์
Q1 และ Q2 ถูกต่อในลักษณะเป็นวงจรอะสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์ และมีอัตราการสวิตช์
1 ไซเกิลต่อวินาทีซึ่งอัตราการสวิตช์นี้สามารถเปลี่ยนแปลง ได้โด่ยการเปลี่ยนค่า
C1-R3 และ C2-R4
จากรูปที่
14 เป็นวงจรไฟกะพริบที่ใช้ LED สองตัวอีกแบบหนึ่ง โดยวงจรใช้ไอซีไทเมอร์
555 หรือไอซีซีมอส 7555 ต่อในโหมดอะสเตเบิลซึ่งจะได้สัญญาณที่ขา 3 เป็นสัญญาณที่สวิตช์ไปมา
อยู่ระหว่างกราวด์และแรงดัน ของแหล่งจ่ายไฟ สำหรับค่าเวลาคงที่ของการสวิตช์ของสัญญาณที่ขา
3 สามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยการเปลี่ยนค่า C1 และ R4 วงจรนี้สามารถใช้เป็นวงจรไฟกะพริบที่ใช้
LED ตัวเดียวได้ด้วยเช่นกัน โดยการลัดวงจร LED และตัวตัวต้านทานจำกัดกระแสตัวที่ไม่ต้องการออก
|