กลับหน้าบทความอิเล็กทรอนิกส์ | SE-ED.com | Electronics Society | ThailandIndustry.com | Webboards |
สารานุกรมไดโอดฉบับย่อย ตอนจบ : บุญชัย งามวงศ์วัฒนา

ที่มา : วารสาร SEMICONDUCTER ฉบับที่ 140 เดือน ¡Ã¡®Ò¤Á ¾.È. 2537

หน้าแรก
การประยุกต์ใช้งาน LED
การเลือกใช้ LED
การนำ LED หลาย ๆ ตัว มาต่อใช้งานร่วมกัน
วงจรควบคุม LED แบบต่างๆ
วงจรไฟกระพริบอย่างง่าย
โฟโต้ไดโอด
โฟโต้ทรานซิสเตอร์
ออปโต้คัปเปลอร์
วาริแคปไดโอด



โฟโต้ทรานซิสเตอร์

รูปที่ 16 สัญญลักษณ์ของโฟโต้ทรานซิสเตอร์

ดังที่ทราบกันอยู่แล้วว่าซิลิกอนทรานซิสเตอร์นั้นถูกสร้างจากรอยต่อพี-เอ็น จึงไม่แปลกเลยที่ทรานซิสเตอร์ จะมีความไวต่อแสงด้วย ซึ่งอยู่ในรูปแบบของโฟโต้ทรานซิสเตอร์นั่นเอง สัญลักษณ์ของโฟโต้ทรานซิสเตอร์แสดงใน รูปที่ 16

รูปที่ 17 การใช้งานโฟโต้ทรานซิสเตอร์ในลักษณะต่าง ๆ

การใช้งานโฟโต้ทรานซิสเตอร์พื้นฐานมีอยู่ 3 แบบด้วยกัน ดังแสดงในรูปที่ 18 จากรูปจะเห็นว่า ในแต่ละกรณีรอยต่อเบส-คอลเล็กเตอร์ของทรานซิสเตอร์ จะต่อในลักษณะได้รับไบแอสกลับ เช่นเดียวกับโฟโต้ไดโอด ในรูปที่ 17 (ก) ขาเบสของทรานซิสเตอร์ถูกต่อลงกราวด์ ดังนั้น ทรานซิสเตอร์จะทำงานเหมือนกับโฟโต้ไดโอดทุกประการ ส่วนรูปที่ 17 (ข) และ 17 (ค) ขาเบสของทรานซิสเตอร์ถูกปล่อยลอยไว้ และเมื่อใดที่ทรานซิสเตอร์ได้รับแสง ก็จะมีกระแสไหลผ่านรอยต่อเบส - คอลเล็กเตอร์ ไปยังขาเบสของทรานซิสเตอร์ ซึ่งจะทำให้กระแสที่ผ่านจากคอลเล้กเตอร์มายังอิมิตเตอร์ ของทรานซิสเตอร์มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมาก กระแสนี้จะทำให้ได้แรงดันเอาต์พุตที่ตกคร่อมตัวต้านทาน R1 ที่ต่ออนุกรมอยู่มีค่าเพิ่มขึ้น

รูปที่ 18 วงจรโฟโต้ทรานซิสเตอร์ที่สามารถปรับความไวในการตอบสนองต่อแสงได

เมื่อเปรียบเทียบกับโฟโต้ไดโอดโฟโต้ทรานซิสเตอร์จะมีความไวต่อแสงมากกว่าประมาณ 100 เท่า แต่ในด้านความถี่ใช้งานสูงสุด สำหรับโฟโต้ทรานซิสเตอร์ (ประมาณ 200-300 กิโลเฮิรตช์) จะใช้งานได้ที่ความถี่ต่ำกว่าโฟโต้ไดโอด หลายสิบเมกะเฮิรตซ์ ในการใช้งาน อาจจะต่อตัวต้านทานปรับค่าได้ระหว่างขาเบสและอิมิตเตอร์ของโฟโต้ทรานซิสเตอร์ด้วยก็ได้ ดังรูปที่ 18 เพื่อให้สามารถเลือกได้ว่าต้องการใช้กับงานที่มีความไวต่อแสงมาก ๆ หรือต้องการใช้กับงานที่มีความถี่สูง ๆ โดยเมื่อ VR1 เปิดวงจรก็จะทำหน้าที่เป็นโฟโต้ทรานซิสเตอร์ และเมื่อ VR1 ลัดวงจร ก็จะทำหน้าที่เป็นโฟโต้ไดโอด

ในการใช้งานวงจรที่เกี่ยวข้องกับแสงในรูปที่ 15 ถึง 18 นั้นจะต้องเลือกใช้ตัวต้านทานโหลด R1 ที่มีค่ามากหรือน้อยจนเกินไปด้วย เพราะถ้าใช้ตัวต้านทาน R1 ที่มีค่ามาก ๆ ถึงแม้จะทำให้อัตราขยายแรงดัน ของวงจรเพิ่มขึ้น แต่ก็จะทำให้ช่วงความถี่ของการใช้งานลดลงด้วยและค่าของ R1 จะต้องเป็นค่าที่ทำให้โฟโต้ไดโอด หรือโฟโต้ทรานซิสเตอร์ ทำงานในช่วงที่เป็นเชิงเส้นด้วย


สงวนลิขสิทธิ์
พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved.