การนำ LED หลาย ๆ ตัวมาต่อใช้งานร่วมกัน
![](140s135_P10.gif)
รูปที่ 10 แสดงการนำ
LED หลาย ๆ ตัวมาต่ออนุกรมกัน โดยใช้ตัวต้านทานจำกัดกระแสเพียงตัวเดียวเท่านั้น
![](transparent.gif) LED
สามารถนำมาใช้งานพร้อมกันในคราวเดียวหลาย ๆ ตัวได้โดยนำ LED มาต่ออนุกรมกัน
และใช้แหล่งจ่ายแรงดันแหล่งเดียวในการไบแอสให้ LED ทำงานดังแสดงในรูปที่
10 โดยแหล่งจ่ายแรงดัน จะต้องมีแรงดันมากกว่าผลรวมของแรงดันไบแอสตรงของ LED
แต่ละตัว เพราะจำทำให้แหล่งจ่ายแรงดัน ไม่สามารถไบแอสให้ LED ได้เพียงพอ
แต่ก็สามารถแก้ไขได้โดยนำวงจรเหล่านี้มาต่อขนานกัน
![](140s135_P11.gif)
รูปที่ 11 วงจรขับ
LED หลายตัวพร้อมกันแต่การต่อแบบนี้วงจรจะกินกระแสค่อนข้างสูง
การนำ
LED หลาย ๆ ตัวมาใช้งานพร้อม ๆ กันอีกแบบหนึ่งก็คือ การนำวงจรพื้นฐานจาก
รูปที่ 2 มาต่อขนานกันดังแสดงใน รูปที่ 11 แต่การต่อวงจรแบบนี้ค่อนข้าง จะกินกระแสมาก
คือเท่ากับผลรวม ของกระแสที่จ่ายให้แก่ LED แต่ละตัว
![](140s135_P12.gif)
รูปที่ 12 วงจรลักษณะนี้ไม่สามารถทำให้
LED แต่ละตัวทำงานได้เท่า ๆ กันเพราะกระแสจะไหลมากใน LED ตัวที่มีแรงดันฟอร์เวิร์ดต่ำที่สุด
รูปที่
12 แสดงการนำ LED หลาย ๆ ตัวมาใช้งานพร้อม ๆ กันอย่างไม่ถูกต้อง จากวงจรจะเห็นได้ว่า
LED ไม่มีทางที่จะทำงานพร้อม ๆ กันได้ เพราะแรงดันไบแอสตรงของ LED แต่ละตัวจะมีค่าไม่เท่ากัน
ในกระบวนการผลิตก็ไม่สามารถทำให้ LED ทุกตัวมีค่าแรงดันไบแอสตรงเท่ากันพอดีได้
ซึ่งจะทำให้มี LED ตัวใดตัวหนึ่งกินกระแสมากกว่าตัวอื่น ๆ และทำให้ LED ตัวที่เหลืออยู่ได้รับกระแสเพียงเล็กน้อยหรือ
อาจไม่ได้รับกระแสเลยหากแรงดันไบแอสของ LED ต่างกันมาก
|