กลับหน้าบทความอิเล็กทรอนิกส์ | SE-ED.com | Electronics Society | ThailandIndustry.com | Webboards |
สารานุกรมไดโอดฉบับย่อย ตอนจบ : บุญชัย งามวงศ์วัฒนา

ที่มา : วารสาร SEMICONDUCTER ฉบับที่ 140 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2537

หน้าแรก
การประยุกต์ใช้งาน LED
การเลือกใช้ LED
การนำ LED หลาย ๆ ตัว มาต่อใช้งานร่วมกัน
วงจรควบคุม LED แบบต่างๆ
วงจรไฟกระพริบอย่างง่าย
โฟโต้ไดโอด
โฟโต้ทรานซิสเตอร์
ออปโต้คัปเปลอร์
วาริแคปไดโอด



การเลือกใช้ LED

รูปที่ 6 ตำแหน่งขา LED

ปัญหาแรกที่จะพบในการใช้งาน LED ก็คือการหาขั้วของ LED ซึ่งโดยทั่ว ๆ ไป LED จะมีขั้วแคโทดอยู่ตรงด้านรอยบาก หรือเป็นขาที่สั้นกว่าอีกข้างหนึ่ง ดังแสดงในรูปที่ 6 หรืออาจจะทดสอบหาขั้ว โดยใช้วงจรพื้นฐานใน รูปที่ 2 ก็ได้ โดยการทดลองกลับขั้วของ LED และถ้า LED ติดสว่าง ขั้วแคโทดจะเป็นขา ที่ต่ออยู่กับขั้วลบของแบตเตอรี่

ในการใช้งาน LED อาจใช้ร่วมกับชุดยึดจับ ซึ่งประกอบด้วยตัวยึดและวงแหวนพลาสติก เพื่อช่วยให้ LED สามารถยึดติดกับแผ่นวงจรพิมพ์หรือหน้าปัดของกล่อง ได้ด้วยดังแสดงในรูปที่ 7

โดยทั่ว ๆ ไป LED จะผลิตเป็นแบบที่มี LED ตัวเดียวในตัวถังเดียวดังแสดงในรูปที่ 7 สำหรับ LED ชนิดที่มีหลาย ๆ ตัวอยู่ในตัวถังเดียวกันรู้จักกันก็คือ LED 7 ส่วน (7-Segment display) ซึ่งภายในประกอบด้วย LED เจ็ดตัว (หรือแปดตัว) อยู่ในตัวถังเดียวกันสามารถแสดงผลได้ทั้งตัวอักษรและตัวเลขตัวแสดงผลอีกอย่างเป็นตัวแสดงผลแบบบาร์ กราฟ (bargraph-display) ซึ่งประกอบด้วย LED 10 ถึง 30 ตัวอยู่ในตัวถังเดียวกัน

รูปที่ 8 LED ชนิดสองสี ประกอบด้วย LED 2 ตัวต่อกลับขั้วและขนานกัน

LED ส่วนใหญ่สามารถเปล่งแสงออกมาได้เพียงสีเดียวต่อตัวเท่านั้น แต่สำหรับ LED ที่สามารถเปล่งแสง ได้หลายสีก็มีการผลิตขึ้นมาเช่นกัน ดังแสดงในรูปที่ 8 ซึ่งเป็น LED ชนิดสองสีจะประกอบด้วย LED 2 ตัวต่อกลับขั้วและขนาดกันจะเปล่งแสงสีเขียวเมื่อได้รับการไบแอสในทิศทางหนึ่ง และเปล่งแสงสีแดง หรือเหลืองเมื่อได้รับการไบแอส ในทิศทางตรงกันข้าม LED ชนิดนี้มีประโยชน์อย่างมากในการนำมาแสดงผล เกี่ยวกับทิศทางของกระแสหรือการแสดงขั้ว LED ชนิดหลายสีอีกชนิดหนึ่งแสดงดังรูปที่ 9 ซึ่งประกอบด้วย LED สีเขียวและสีแดงต่อกัน โดยขาแคโทดจะต่อรวมกัน LED ชนิดนี้จะเปล่งแสงสีเขียวหรือสีแดง เมื่อได้รับการไบแอสที่ขั้วแอโนดขั้วใดขั้วหนึ่ง และจะเปล่งแสงสีส้มและสีเหลือง เมื่อได้รับการไบแอสทั้ง 2 ขั้วของแอโนดในอัตราส่วนของปริมาณกระแสที่แตกต่างกัน ดังแสดงในตารางของรูปที่ 9

รูปที่ 9 LED ซึ่งสามารถเปล่งแสงได้ถึง 4 สีโดยใช้ LED เพียง 2 ตัว


สงวนลิขสิทธิ์
พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved.